วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 14

Study Notes 14
November 13,2014
Group 101 (Thursday)
Time (08.30-12.20)


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
    กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้ทุกคนเอาของเล่นวิทยาศาสตร์ มาส่งอาจารย์อีกรอบเพื่อที่จะจำแนกเป็นหมวดหมู่ดังนี้
  1. เรื่องของแสง
  2. เรื่องของเสียง
  3. เรื่องของพลังงานลม
  4. พลังงานศูนย์โน้มถ่วง
  5. เรื่องของพลังงานน้ำ
  6. เข้ามุมเสริมประสบการณ์


ประเภทของเล่นที่ใช้พลังงานลม
ประเภทของเล่นที่อยู่ในเรื่องของแสง

พลังงานศูนย์โน้มถ่วง

เข้ามุมเสริมประสบการณ์เรื่องวิทยาศาสตร์


ประเภทเรื่องของเสียง
การนำเสนอบทวิจัย



1.             นาง สาวสุธิดา  คุณโตนด  วิจัยเรื่อง ผลการบันทึกประกอบประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย (พีระพร  รัตนาเกียรติ์)   สรุป  มีการค้นคว้าการทดลองกับสื่อที่เตรียมมา แล้วให้ให้เด็กนำเสนอและบันทึกสิ่งที่เด็กนำเสนอ เมื่อให้เด็กเล่นของเล่น แล้ว ให้จดบันทึกหรือให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้ทดลองไป
2.             นางสาวธิดารัตน์  สุทธิผล   วิจัยเรื่องผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย   สรุป    ทักษะวิทยาศาสต
3.             นาง สาวชนกานต์  มีดวง  วิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (ณัฐชุดา  สาครเจริญ)
4.             ร์ ที่ใช้ในการวิจัย การจำแนก จัดกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้ ในสถานที่ต่างๆ หรือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็ก  การที่จะจัดประสบการณ์นั้นต้องหาเกณฑ์ความเหมือนต่าง และแบบประเมินการจำแนก หน่วยที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วย 40 แผน มีการทดลองจากการเรียนการสอน
5.             นาง สาวธนภรณ์  คงมนัส   วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้ กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่าง มีแบบแผน (อัจฉราภรณ์  เชื้อกลาง)  สรุป  การกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะต้องมีคำถามถามเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิดทักษะขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


ขั้นตอนการทำ Cooking  Manu  ขนมวาฟเฟอ

อุปกรณ์มีดังนี้




ครูสาธิตการสอนวิธีการทำ Cooking ที่ถูกวิธี และครูเป็นคนจัดเตรียมอุปกรณ์ให้เด็กๆ จากนั้น ให้ส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์
  • ชามใบใหญ่
  • ถ้วยใบเล็ก
  • ที่ตีไข่
  • แป้งทำวาฟเฟอ
  • ไข่ไก่
  • เนยเค็ม
  • น้ำเปล่า
  • เครื่องอบขนม
วิธีการดำเนินการสอนทำ  Cooking

 

 1 ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ เช่น ไข่ไก่ ถ้วย/ชามขนาดใหญ่  ช้อน ที่ตีไข่ เเป้งวาฟเฟิล เนยที่ทำขนม จาน เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบายและสาธิตวิธีการทำขนมวาฟเฟิลให้นักศึกษาดู
 2. ขอตัวเเทนอาสาสมัครมาใช้ครูจัดของเเบ่งออกให้เป็น 6 กลุ่ม
 3. ให้ตัวเเทนอกมารับอุปกรณ์ แล้วก็ช่วยกันทำ เริ่มจากตอกไข่ไก่ลงไปในชามที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ตีไข่ให้เข้ากัน ใส่เนยลงไปตีให้ละเอียด แล้วค่อยๆเทเเป้งวาฟเฟิลลงไปพร้อมกับใส่น้ำที่ละนิด  แล้วผสมให้เข้ากันจนเป็นเนื้อ เดียวกัน พอเสร็จเรียบร้อยเเล้วก็ตักใส่ถ้วยเล็กๆไว้ตามจำนวนกลุ่มของตนเอง เเล้วนำมาเทลงบนเตาที่ทำวาฟเฟิลปิดเตาไว้รอจนสุกได้ที่ แล้วก็นำมาใส่จานรับประทานได้


ผลงานการทำขนม





 Adoption การนำไปใช้ 

      เราสามารถนำความรู้จากในเรื่องของวิจัยเพื่อที่จะนำไปจัดประสบการณ์หรือเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำคัญจากการเรียนรู้ และการลงมือกระทำ ทำให้เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก การเรียงลำดับ มิติสัมพันธ์ หรือทักษะต่างๆทางวิทยาศาสตร์ ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กเรื่องการทดลอง หรือการทำอาหารเราจะต้องจัดเป็นฐานการเรียนรู้ให้กับเด็ก และให้เด็กแบ่งกลุ่ม ครูเป็นผู้อธิบายอุปกรณ์ และวิธีการทำ และบอกข้อควรระวังในการทำ เพื่อที่จะไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้


วิธีการสอน  Teaching methods
  • การสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
  • การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • การอภิปราย
  • การนำเสนอ
  • ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กสนใจ
  การประเมิน assessment

ตนเอง->>>>>ตั้งใจฟังและร่วมทำกิจกรรม มีการตอบคำถามและมีทักษะในการนำเสนอมากขึ้น และตั้งใจทำขนมอย่างเต็มที่ได้ใช้ทักษะในการแบ่งเป็นขั้นตอน และกะปริมาณให้เท่าๆกัน และรู้จักแบ่งปันและการรอคอย
เพื่อน->>>>> มีการนำเสนอวิจัยของตนเองที่หลากหลาย แต่จะมีข้อผิดพลาดบ้าง อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ไปในส่วนของเนื้อหาวิจัย เราควรที่จะจับประเด็นที่สำคัญๆมาเพื่อที่จะง่ายต่อการสรุปและเข้าใจง่ายมากขึ้นในตัวของงานต่างๆ
อาจารย์->>>>> มีการร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษา และได้ให้คำแนะนำว่าในการการหาวิจัยและการสรุปประเด็นที่สำคัญมา และอาจารย์ก็ให้นักศึกษาได้เปฺดโอกาสหาความรู้ และมีการทดลองลงมือปฏิบัติจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น