วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย

 สรุปงานวิจัย
 




ชื่อผลงานวิจัย ผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปี
วัตถุประสงค์(objective)


เพื่อศึกษาผลของการจัด กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของเด้กอายุ 6-7 ปี ใน 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
สมมุติฐาน(assumption)
หลังการทดลองเด็กที่ได้รับ การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ
แนวทางการปฏิบัติ(regulation)
-
กลุ่มตัวอย่าง(sample)
เด็กอายุ 6-7 ปี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จะนวน 68 คน ทำการแบ่งกลุมทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 34 คนและแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 34 คน
ตัวแปร(variable)
ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย
ตัวแปรต้น คิอ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่
1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
2. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ
คำนิยาม(defination)
แนวคอนสตรัคติวิสต์ หมายถึง กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง โดยการเปิดโอกาศให้ผู้เรียน สังเกต ซักถาม ค้นคว้าหาคำตอบ สรุปและอภิปรายผล เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับความรู้ที่ได้ค้นพบจากปรากฏการณ์หรือปฏิกิริยา ที่เกิดขึ้นหลังการกระทำ โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสรัคติวิสต์ หมายถึง การจัดประสบการณ์เสริมความรู้และความสนใจของเด็กที่เกี่ยวกับความรู้เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยที่เด็กได้ทดลองทำกิจกรรมของแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ 6 ขั้น คือ 1) ขั้นทบทวนความรู้เดิม 2)ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ 3) ขั้นทำความเข้าใจและเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 4) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ 5) ขั้นสรุปและจัดโครงสร้างความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 6) ขั้นประเมินผลและนำมาใช้
กิจกรรมวิทยาสาสตร์ตามการสอนแบบปกติ หมายถึง การจัดประสบการณ์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่  โดยมีครูเป็นผู้ชี้นำให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง ตามแผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่มีการใช้สื่อประกอบการสอน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตามขั้นการสอนปกติ ดังนี้ 1) ขั้นนำ 2 ) ขั้นกิจกรรม 3) ขั้นสรุปและประเมินผล
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงความสามารถและความชำนาญของตนในการแสวงหาความรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการลงความเห็น จากข้อมูล สามารถวัดได้จากแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือ(tool)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ 6-7 ปี
การรวบรวมข้อมูล(gathering)
1. นำแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ ไปประเมินกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง(Pre-test) เป็นรายบุคคล โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์
2.ผู้วิจัยดำเนินการสอนกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และผู้ช่วยวิจัยสอนกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มควบคุมใช้แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนปกติ ใช้เวลาในการดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที
3.หลังการดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการ ทดลอง(Post-test) ด้วยแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์
การวิเคราะห์(analysis)
1.วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window
2.เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS for window
ข้อสรุป(summary)
ผลการวิจับพบว่าหลังการ ทดลอง เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตัคติวิสต์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กที่ได้รับการ จัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตถที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ(suggestion)
1. ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาสาสตร์ตามแนวคิดคอนสตัคติวิสต์ที่มีผล ต่อทักษะทางด้านอื่น เช่น ทักษะคณิตศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหา
ปี
2552

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น