วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 16

Study Notes 16
December 4,2014
Group 101 (Thursday)
Time (08.30-12.20)


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
การนำเสนอวิจัยเรื่องสุดท้าย
ผู้วิจัย นงลักษณ์ บุญระชัยสวรรค์
ตัวแปรต้นคือ กิจกรรมการทดลองบูรณาการด้วยการใช้คาถาม
ตัวแปรตาม คือ การส่งเสริมทักษะการลงสรุปสาหรบเด็กปฐมวัย
กิจกรรม ไข่หมุน
  • ไข่ต้มสุก
  •   ไข่ดิบ
ทักษะวิทยาศาสตร์
การสังเกต
การเปรียบเทียบ
 
     สัปดาห์นี้เป็นการเรียนครั้งสุดท้ายในเทอมนี้ อาจารย์ได้ให้ลองทำแผ่นพับ หรือข่าวประชาสัมพันธ์ถึงผู้ปกครอง เรื่องการขอความร่วมมือจากผู้ปกครองระหว่างโรงเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกของท่านได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่างๆจากการทำกิจกรรม  และเพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน
โดยมีการทำแผ่นพับดังภาพ
 
ส่วนที่แก้ไข  ถ้าทำเกมควรที่จะเจาะจงในเรื่งใดเรื่องหนึ่ง เช่น ถ้าจะเอาเปรียบเทียมเรื่องปริมาณ ไม่ควรที่จะมีเรื่องของสีมาเกี่ยวข้อง






Adoption การนำไปใช้
  1. ได้ทักษะในการที่จะเขียนแผ่นพับเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองเพื่อที่จะนำสิ่งของ หรือของเหลือให้มาเพื่อทำการทดลองในหน่วยการเรียนต่างๆ
  2.  การที่เราจะเขียนการขอความร่วมมือนั้นไม่ควรที่จะเขียนเป็นข้อๆควรจะเขียนเป็นความบรรยายอย่างละเอียดให้ชัดเจน
  3. ในเนื้อหาสาระในแผ่นพับควรจะตั้งจุดประสงค์หรือเป้าหมายไว้ให้ชัดเจนว่าเด็กจะได้อะไรจากการทดลองหรือการทำกิจกรรมนี้
  4. เราควรที่จะมีเกมหรือเพลงไว้ในแผ่นพับเพื่อที่จะสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับลูกเกมที่เกี่ยวับวิทายาศาสตร์
 


วิธีการสอน  Teaching methods 

  •  การสอบแบบรายกลุ่ม
  • การสอนในการนำเสนอ
  • การสอนแบบการแสดงความคิดเห็น
  • การสอนด้วยการลงมือปฎิบัติจริง
  • การสอนด้วยเหตุและผล
  • การสอนแบบร่วมมือ
  • การสอนการใช้คำถามทางการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์

  การประเมิน assessment

ตนเอง =  เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าหน้าห้องอย่างเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย และมีการตอบถามช่วยแสดงความคิดเห็นในการทำงานเรื่องแผ่นพับ และได้ทักษะในการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา ท้ายนี้ดิฉันจะนำทักษะต่างๆทางวิทยาศาสตร์นี้นำไปใช้ให้เกิดผล และจะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
เพื่อน= เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจเรียนและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในการทำงาน นำทักษะขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการวางแผน การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์สังเคาระห์มาใช้ในการทำงานอย่างเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
อาจารย์ = เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเนื้อหาและร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับนักศึกษา และให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเป็นอย่างดีในการที่เราจะเขียนหรือทำแผ่นพับต่างๆเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการทำกิจกรรมนั้นได้

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Study Notes15



Study Notes15
December 27,2014
Group 101 (Thursday)
Time (08.30-12.20)



สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)

      
       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้นำเสนอบทวิจัยและโทรทัศน์ครูสำหรับคนที่ยังไม่ได้นำเสนอให้มานำเสนอให้หมดภายในสัปดาห์นี้
  1.   งานวิจัยเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-   มีกิจกรรม 20 ชุด หน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย
-   ทักษะทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านประสาทสัมผัส มี 4 ทักษะ
          - การสังเกต
          - การจำแนก
          - การวัด
          - มิติสัมพันธ์
-   หน่วย สัตว์เลี้ยงแสนดี อุปกรณ์ แผ่นภาพอาหารของสัตว์
          การจัดกิจกรรม
- ครูนำภาพมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่า สัตว์ไม่ได้กินอาหารจะเป็นอย่างไร

2. งานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์เน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย

-  ทักษะทางวิทยาศาสตร์    การสังเกต   การประมาณ   การเปลี่ยนแปลง
-   ครูแนะนำกิจกรรม ครูบอกเด็กว่าจะพาไปเที่ยวรอบโรงเรียนให้เด็กส่องสิ่งที่มองเห็น
-   ครูให้เด็กส่องดูผ่านแว่นแล้วมองดูผ่านตา
-   ครูให้เด็กวาดภาพ จากสิ่งที่มองเห็น
-  ครูใช้คำถาม เด็กมองเห็นวัตถุของจริง เด็กมองเห็นเป็นอย่างไร และเด็กมองผ่านแว่นเป็นอย่างไร
-  สรุปลงความเห็นการมองผ่านแว่นขยายและไม่ใช้แว่นขยาย

3. งานวิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

-  การคิดเชิงเหตุผล มีความจำเป็นต่อการดำรงชิวิตของมนุษย์และเป็นทักษะพื้นฐาน
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-  การคิดเชิงเหตุผลมี 3 อย่างคือ
-  การจำแนกประเภท   Classification
-  การจัดประเภท  Classification
-  ด้านอนุกรม  the serial
-  หน่วยสนุกน้ำ
-  หน่วยอากาศแสนสนุก
-  หน่วยพืชน่ารู้
-  หน่วยพลังงานแสนกล
-  หน่วยเรียนรู้ธรรมชาติ
-  หน่วยฉันคือใคร
4. งานวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก
-  ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย  การลงความเห็น  มิติสัมพันธ์


การนำเสนอโทรศัศน์ครู
5.   เรื่อง เสียงมาจากไหน
6.   เรื่อง สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
7.   เรื่อง เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
8.  เรื่อง หน่วยไฟ
9.  เรื่อง  -
10. เรื่อง  ขวดปั๊มและลิปเทียน
11.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปรี  
12.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง พลังจิตคิดไม่ซื่อ
13.  นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย
14.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ทะเลฟองสีรุ้ง
15.  สนุกคิดวิทย์ทดลอง
16.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
17.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ความลับของใบบัว
18.  การทดลองความแข็งของวัตถุ



 Adoption การนำไปใช้
    การนำทักษะขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในบทวิจัยนำมาปรับใช้หรือจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กในอนาคตได้ และนำเครื่องมือในงานวิจัยมาจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรียนจากเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กและเด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย ลงมือกระทำด้วยตนเองได้ ได้เกิดทักษะในการสังเกต และเด็กสามารถทำได้โดยไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเพราะจะทำให้เด็กได้ทักษะต่างๆทางวิทยาศาสตร์และเกิดกระบวนการเรียนรู้


วิธีการสอน  Teaching methods
  • การสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
  • ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กสนใจ 
  • การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • การอภิปราย
  • การนำเสนอ
  • การสอนแบบแก้ไขปัญหา
  • การสอบแบบให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
  • การสอนทักษะโดยใช้กระบวนการคิดการสังเกต
  • การสอนแบบขยายความสำคัญ
  • การสอนแบบจับประเด็นที่สำคัญให้เป็น

   การประเมิน assessment


ตน เอง->>>>>ตั้งใจฟังและร่วมทำกิจกรรม มีการตอบคำถามและมีทักษะในการนำเสนอมากขึ้น ได้ใช้ทักษะในการแบ่งเป็นขั้นตอน และกะปริมาณให้เท่าๆกัน และรู้จักแบ่งปันและการรอคอย
เพื่อน->>>>> มีการนำเสนอวิจัยของตนเองที่หลากหลาย แต่จะมีข้อผิดพลาดบ้าง อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ไปในส่วนของเนื้อหาวิจัย เราควรที่จะจับประเด็นที่สำคัญๆมาเพื่อที่จะง่ายต่อการสรุปและเข้าใจง่ายมาก ขึ้นในตัวของงานต่างๆ
อาจารย์->>>>>  ได้ให้คำแนะนำว่าในการการหาวิจัยและการสรุปประเด็นที่สำคัญมา และอาจารย์ก็ให้นักศึกษาได้เปฺดโอกาสหาความรู้ และมีการทดลองลงมือปฏิบัติจริง
มีการร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษา

สรุปงานวิจัย

 สรุปงานวิจัย
 




ชื่อผลงานวิจัย ผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปี
วัตถุประสงค์(objective)


เพื่อศึกษาผลของการจัด กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของเด้กอายุ 6-7 ปี ใน 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
สมมุติฐาน(assumption)
หลังการทดลองเด็กที่ได้รับ การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ
แนวทางการปฏิบัติ(regulation)
-
กลุ่มตัวอย่าง(sample)
เด็กอายุ 6-7 ปี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จะนวน 68 คน ทำการแบ่งกลุมทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 34 คนและแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 34 คน
ตัวแปร(variable)
ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย
ตัวแปรต้น คิอ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่
1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
2. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ
คำนิยาม(defination)
แนวคอนสตรัคติวิสต์ หมายถึง กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง โดยการเปิดโอกาศให้ผู้เรียน สังเกต ซักถาม ค้นคว้าหาคำตอบ สรุปและอภิปรายผล เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับความรู้ที่ได้ค้นพบจากปรากฏการณ์หรือปฏิกิริยา ที่เกิดขึ้นหลังการกระทำ โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสรัคติวิสต์ หมายถึง การจัดประสบการณ์เสริมความรู้และความสนใจของเด็กที่เกี่ยวกับความรู้เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยที่เด็กได้ทดลองทำกิจกรรมของแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ 6 ขั้น คือ 1) ขั้นทบทวนความรู้เดิม 2)ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ 3) ขั้นทำความเข้าใจและเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 4) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ 5) ขั้นสรุปและจัดโครงสร้างความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 6) ขั้นประเมินผลและนำมาใช้
กิจกรรมวิทยาสาสตร์ตามการสอนแบบปกติ หมายถึง การจัดประสบการณ์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่  โดยมีครูเป็นผู้ชี้นำให้เด็กปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง ตามแผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่มีการใช้สื่อประกอบการสอน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ตามขั้นการสอนปกติ ดังนี้ 1) ขั้นนำ 2 ) ขั้นกิจกรรม 3) ขั้นสรุปและประเมินผล
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงความสามารถและความชำนาญของตนในการแสวงหาความรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการลงความเห็น จากข้อมูล สามารถวัดได้จากแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เครื่องมือ(tool)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ 6-7 ปี
การรวบรวมข้อมูล(gathering)
1. นำแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ ไปประเมินกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง(Pre-test) เป็นรายบุคคล โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์
2.ผู้วิจัยดำเนินการสอนกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และผู้ช่วยวิจัยสอนกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มควบคุมใช้แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนปกติ ใช้เวลาในการดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที
3.หลังการดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการ ทดลอง(Post-test) ด้วยแบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์
การวิเคราะห์(analysis)
1.วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window
2.เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS for window
ข้อสรุป(summary)
ผลการวิจับพบว่าหลังการ ทดลอง เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตัคติวิสต์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กที่ได้รับการ จัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตถที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ(suggestion)
1. ควรมีการศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาสาสตร์ตามแนวคิดคอนสตัคติวิสต์ที่มีผล ต่อทักษะทางด้านอื่น เช่น ทักษะคณิตศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหา
ปี
2552

 

Study Notes 14

Study Notes 14
November 13,2014
Group 101 (Thursday)
Time (08.30-12.20)


สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)
    กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้ทุกคนเอาของเล่นวิทยาศาสตร์ มาส่งอาจารย์อีกรอบเพื่อที่จะจำแนกเป็นหมวดหมู่ดังนี้
  1. เรื่องของแสง
  2. เรื่องของเสียง
  3. เรื่องของพลังงานลม
  4. พลังงานศูนย์โน้มถ่วง
  5. เรื่องของพลังงานน้ำ
  6. เข้ามุมเสริมประสบการณ์


ประเภทของเล่นที่ใช้พลังงานลม
ประเภทของเล่นที่อยู่ในเรื่องของแสง

พลังงานศูนย์โน้มถ่วง

เข้ามุมเสริมประสบการณ์เรื่องวิทยาศาสตร์


ประเภทเรื่องของเสียง
การนำเสนอบทวิจัย



1.             นาง สาวสุธิดา  คุณโตนด  วิจัยเรื่อง ผลการบันทึกประกอบประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติ สัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย (พีระพร  รัตนาเกียรติ์)   สรุป  มีการค้นคว้าการทดลองกับสื่อที่เตรียมมา แล้วให้ให้เด็กนำเสนอและบันทึกสิ่งที่เด็กนำเสนอ เมื่อให้เด็กเล่นของเล่น แล้ว ให้จดบันทึกหรือให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ได้ทดลองไป
2.             นางสาวธิดารัตน์  สุทธิผล   วิจัยเรื่องผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย   สรุป    ทักษะวิทยาศาสต
3.             นาง สาวชนกานต์  มีดวง  วิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (ณัฐชุดา  สาครเจริญ)
4.             ร์ ที่ใช้ในการวิจัย การจำแนก จัดกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์ สาระการเรียนรู้ ในสถานที่ต่างๆ หรือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเด็ก  การที่จะจัดประสบการณ์นั้นต้องหาเกณฑ์ความเหมือนต่าง และแบบประเมินการจำแนก หน่วยที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วย 40 แผน มีการทดลองจากการเรียนการสอน
5.             นาง สาวธนภรณ์  คงมนัส   วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้ กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่าง มีแบบแผน (อัจฉราภรณ์  เชื้อกลาง)  สรุป  การกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะต้องมีคำถามถามเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิดทักษะขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


ขั้นตอนการทำ Cooking  Manu  ขนมวาฟเฟอ

อุปกรณ์มีดังนี้




ครูสาธิตการสอนวิธีการทำ Cooking ที่ถูกวิธี และครูเป็นคนจัดเตรียมอุปกรณ์ให้เด็กๆ จากนั้น ให้ส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์
  • ชามใบใหญ่
  • ถ้วยใบเล็ก
  • ที่ตีไข่
  • แป้งทำวาฟเฟอ
  • ไข่ไก่
  • เนยเค็ม
  • น้ำเปล่า
  • เครื่องอบขนม
วิธีการดำเนินการสอนทำ  Cooking

 

 1 ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ เช่น ไข่ไก่ ถ้วย/ชามขนาดใหญ่  ช้อน ที่ตีไข่ เเป้งวาฟเฟิล เนยที่ทำขนม จาน เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบายและสาธิตวิธีการทำขนมวาฟเฟิลให้นักศึกษาดู
 2. ขอตัวเเทนอาสาสมัครมาใช้ครูจัดของเเบ่งออกให้เป็น 6 กลุ่ม
 3. ให้ตัวเเทนอกมารับอุปกรณ์ แล้วก็ช่วยกันทำ เริ่มจากตอกไข่ไก่ลงไปในชามที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ตีไข่ให้เข้ากัน ใส่เนยลงไปตีให้ละเอียด แล้วค่อยๆเทเเป้งวาฟเฟิลลงไปพร้อมกับใส่น้ำที่ละนิด  แล้วผสมให้เข้ากันจนเป็นเนื้อ เดียวกัน พอเสร็จเรียบร้อยเเล้วก็ตักใส่ถ้วยเล็กๆไว้ตามจำนวนกลุ่มของตนเอง เเล้วนำมาเทลงบนเตาที่ทำวาฟเฟิลปิดเตาไว้รอจนสุกได้ที่ แล้วก็นำมาใส่จานรับประทานได้


ผลงานการทำขนม





 Adoption การนำไปใช้ 

      เราสามารถนำความรู้จากในเรื่องของวิจัยเพื่อที่จะนำไปจัดประสบการณ์หรือเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สำคัญจากการเรียนรู้ และการลงมือกระทำ ทำให้เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก การเรียงลำดับ มิติสัมพันธ์ หรือทักษะต่างๆทางวิทยาศาสตร์ ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กเรื่องการทดลอง หรือการทำอาหารเราจะต้องจัดเป็นฐานการเรียนรู้ให้กับเด็ก และให้เด็กแบ่งกลุ่ม ครูเป็นผู้อธิบายอุปกรณ์ และวิธีการทำ และบอกข้อควรระวังในการทำ เพื่อที่จะไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้


วิธีการสอน  Teaching methods
  • การสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
  • การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
  • การอภิปราย
  • การนำเสนอ
  • ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กสนใจ
  การประเมิน assessment

ตนเอง->>>>>ตั้งใจฟังและร่วมทำกิจกรรม มีการตอบคำถามและมีทักษะในการนำเสนอมากขึ้น และตั้งใจทำขนมอย่างเต็มที่ได้ใช้ทักษะในการแบ่งเป็นขั้นตอน และกะปริมาณให้เท่าๆกัน และรู้จักแบ่งปันและการรอคอย
เพื่อน->>>>> มีการนำเสนอวิจัยของตนเองที่หลากหลาย แต่จะมีข้อผิดพลาดบ้าง อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ไปในส่วนของเนื้อหาวิจัย เราควรที่จะจับประเด็นที่สำคัญๆมาเพื่อที่จะง่ายต่อการสรุปและเข้าใจง่ายมากขึ้นในตัวของงานต่างๆ
อาจารย์->>>>> มีการร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษา และได้ให้คำแนะนำว่าในการการหาวิจัยและการสรุปประเด็นที่สำคัญมา และอาจารย์ก็ให้นักศึกษาได้เปฺดโอกาสหาความรู้ และมีการทดลองลงมือปฏิบัติจริง