วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 7

Study Notes 7
October 2/2014
Group 101 (Thursday)
                                                   Time (08.30-12.20)
 กิจกรรม  Activities
สิ่งประดิษฐ์จากแกนกระดาษทิชชู 






วิธีการทำ 
  1. ตัดกระดาษ 8 ส่วนเท่าๆกัน
  2. ตัดครึ่งแกนทิชชู
  3. นำแกนทิชชูมาวางทับกับกระดาษที่ตัดไว้
  4. วาดรูปตกแต่งกระดาษที่เป็นวงกลม
  5. ตัดไหมพรหมยาว 1 ศอก
  6. เจาะรูที่แกนกระดาษทิชชูทั้ง  2 ข้าง แล้วร้อยเชือก
  7. นำกระดาษวงกลมที่ตกแต่งไว้ นำมาติดกับแกนกระดาษทิชชู

ผลการทดลอง


 เกิดจากแรงเสียดทาน Friction ทำให้แกนกระดาษเคลื่อนที่ mobile
ถ้าเรากางเชือกออกกว้างๆ แกนกระดาษจะเคลื่อนที่ได้เร็ว ถ้าเราไม่กางเชือกออกกว้างๆ แกนกระดาษก้อจะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่ากัน

บทความ article

นางสาว ดาริกา แก้วผัด 
นางสาว กานดา ไชยพันนา
นางสาว กาญจนา  ธนารัตน์
นางสาว จารุวรรณ ปัตตัง
นางสาว นันทวดี  นาสารีย์
บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ


eaching methods  วิธีการสอน
เปิดโอกาสในการใช้คำถาม สอนด้วนวิธีการนำเสนอ และการอภิปรายการใช้ขั้นสรุปด้วยการใช้แผนภาพความคิด ให้นักศึกษามีการลงมือกระทำและปฏิบัติจริง โดยใช้วิธีการนำเสนอ สอนสรุปองค์ความรู้โดยการบูรณาการทักษะวิชาต่างๆ
Benefits ประโยชน์ที่ได้รับ
                จากกิจกรรมในการประดิษฐ์ ถ้านำไปจัดให้เด็กในทางความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็ก ได้ตกแต่ง ได้โยน และได้ลงมือทำในการตัดกระดาษ เพราะมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อน และเด็กสามารถทำได้
assessment การประเมิน               
ตนเอง =  เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าหน้าห้องอย่างเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกทุกครั้งที่มีเนื้อหาสำคัญ 
เพื่อน= เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมร่วมกันได้ดี
อาจารย์ = เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเนื้อหาและร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับนักศึกษา 


สรุปเรื่องอากาศ


การหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติ

ในการออกแบบอาคารโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เ้ป้าหมายแรกที่ต้องบรรลุผลคือการหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติซึ่งจะช่วยลด ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศให้น้อยลง จึงช่วยประหยัดพลังงานที่จำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีอากาศร้อน
ยิ่งกว่านั้น การหมุนเวียนอากาศตามธรรมชาติจะทำให้เกิดภาวะการทำความเย็นช่วงกลางคืนให้ กับอาคาร เมื่อมลพิษต่างๆ ถูกกำจัดให้ลดลง อากาศร้อนและอากาศไม่บริสุทธิ์ถูกไล่ออกไปจากอาคาร การทำความเย็นจากกลางคืนจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการหายใจ การดมกลิ่น และสร้างสภาพอากาศที่น่าสบายให้กับผู้อยู่ในอาศัย

paroi_froide

การทำความเย็นช่วงกลางคืน จะเกิดขึ้นได้โดยที่่เจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องอยู่ในบริเวณนั้น การตั้งเวลาให้กับระบบอัตโนมัติจึงเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้มั่นใจ ได้ว่ามีการเปิดปิดหน้าต่างให้อยู่ในระดับการทำงานที่เกิดผลสูงสุดต่ออาคาร

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย ได้แก่
  • ที่ตั้ง ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ คือ จาก ศูนย์สูตรถึงขั้วโลกทำให้ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิอากาศทุกชนิด ตั้งแต่เขตร้อนถึงเขต หนาวเย็นแบบขั้วโลก
  • ขนาด เอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดกว้างใหญ่มาก โดยมีเส้นศูนย์สูตร เส้นทรอปิกออฟเคนเซอร์และเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลลากผ่าน ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า ทวีปเอเชียมีทั้งอากาศร้อน อบอุ่น และหนาว
  • ความใกล้-ไกลทะเล ทวีปเอเชียมีดินแดนบางส่วนที่อยู่ติดชายทะเล จึงได้รับอิทธิพลจากทะเลแต่มีดินแดนภายในบางแห่งที่อยู่ห่างไกลจากพื้นน้ำ มาก ทำให้อิทธิพลของพื้นน้ำไม่สามารถเข้าไปถึงภายในทวีปได้อย่างทั่วถึง ภายในทวีปจึงมีอากาศรุนแรง คือ ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด และฤดูหนาวอากาศหนาวจัดขณะที่บริเวณชายฝั่งทะเลมีอากาศไม่แตกต่างกันมากนัก ระหว่างกลางวันกลางคืน และระหว่างฤดูกาลต่าง ๆ
  • ความสูงต่ำของพื้นที่ ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศสูงต่ำแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้มีลักษณะอากาศแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในเขตละติจูดเดียวกัน เช่น เขต ที่ราบที่เมืองเดลี อยู่ที่ละติจูด 28 องศาเหนือ ไม่เคยมีหิมะเลย แต่ที่ยอดเขาดัวลากีรี ซึ่งสูง 8,172 เมตร (26,810 ฟุต) ซึ่งอยู่ในละติจูดเดียวกันกลับมีหิมะและน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี
  • ลมประจำที่พัดผ่าน มีลมประจำหลายชนิดพัดผ่านทวีปเอเชีย ได้แก่
    - ลมประจำฤดู เช่น ลมมรสุม ซึ่งมีอิทธิพลต่อทวีปเอเชียมาก เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศเหนือพื้นทวีปทางซีกโลกเหนือและพื้น มหาสมุทรทาง ซีกโลกใต้
    - พายุหมุน เช่น ลมใต้ฝุ่น ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุไซโคลน ที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น
     
  • กระแสน้ำ มีน้ำเย็นโอยาชิโว ไหลผ่านชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศ มีกระแสน้ำอุ่นกุโรชิโวไหลผ่าน อิทธิพลของกระแสน้ำ ทั้งสอง ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นมีอากาศอบอุ่นกว่าชายฝั่งตะวันตก

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คืออะไร ?

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ดูความหมายของ climate และ weather คลิ๊กที่นี่)
ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ
แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์ มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?
กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?
ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลก ได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?
ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน      บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทาง อุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th/knowledge/know_greenhouse01.html)
ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?
ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC)     จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น