บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 21 เดือนสิงหาคม 2557
กลุ่มเรียน 101 (วันพฤหัสบดีเช้า) เวลา 08.30 – 12.00 น.
*หมายเหตุไม่ได้เข้าเรียน
เนื่องจากไปทำเรื่องขอกู้ กยศ
ดิฉันจึงไปอ่านข้อมูลในการเรียนการสอนในครั้งนี้มาจาก นางสาวแสงระวี
ทรงไตร์
Knowledge (สิ่งที่ได้จากการการเรียน )
สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายของ อาจารย์จินตนา สุขสำราญ เรื่อง เด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย
คือ เด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน
1.
Behaviour พฤติกรรม
2.
Learning การเรียนรู้
3.
การอบรมการเลี้ยงดู
พัฒนาการ
Development คือ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิด ร่างกาย อารม สังคม จิตใจ และภาษา
ที่เป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
พัฒนาการทางสติปัญญา
คือการใช้ปราสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ้งเป็นเครื่องมือในกรรับรู้ เมื่อมีการรับรู้แล้ว
การรับรู้ จะไปอยู่ในสมอง และจะเกิดการซึมซับ
รับรู้ Acknowledge = ยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เรียนรู้ Learning = เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม
การรู้พัฒนาการของเด็ก
จะบอกความสามารถของเด็ก เพื่อการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
อย่างเหมาะสม จะทำให้เด็กมีคุณภาพทางพัฒนาการที่ดี
วิธีการจัดการเรียนรู้
คือการเล่นเพราะการเล่นจะทำให้เด็กมีโอกาสเลือกตัดสินใจเล่นด้วยตนเอง การเล่นจะมี
2 แบบคือ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ไม่เป็นทางการคือจะให้เด็กเล่นเอง
แก้ปัญหาเอง แต่ถ้าเป็นทางการคือ การเล่นที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
โดยการวางแผนจากครูผู้สอน เรารู้วิธีการเรียนรู้เพื่อ
ออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบๆตัวเรา (ทุกสิ่งในโลกรวมถึงตัวเราเอง)
ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ คณิตศาสตร์ และภาษา
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติเด็ก
1.
จะเกิดการปิดกั้น การเรียนรู้ของเด็ก
2.
ไม่สนใจกับการคนพบของเด็ก
3.
ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก
Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1.
สามารถนำไปออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างชัดเจน
2.
เพื่อจะได้รู้ว่า
เราจะสอนอะไรกับเด็ก เช่น การสอน ต้องสอนในเรื่องที่เด็กสนใจ เรื่องใกล้ตัวเด็ก หรือสิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
3.
ได้รู้องค์รวมของความรู้เกี่ยวกับ
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้เด็ก เพราะได้ ทำ Mind Map สรุปความคิดรวบยอด จึงได้เห็นภาพรวมและมีความเข้าใจในรายวิชามากขึ้น
4.
การที่อาจารย์สอนในรูปแบบของการใช้คำถามที่เปิดกว้าง
ทำให้ นักศึกษามีการตื่นตัว และ ได้คิด วิเคราะห์
ตลอดเวลา หาคำตอบด้วยตัวเอง และตอบเข้าประเด็นมากที่สุด
ว่าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดคืออะไร
5.
การใช้ IT ในการเรียนการสอนทำให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะได้อย่างคล่องแคล้วแม่นยำมากยิ่งขึ้นและนำไปประยุกค์ใช้ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบันทึกการเรียนในรูปแบบของ
IT ได้อย่างทันสมัย
Teaching methods (วิธีการสอน)
การเรียนการสอนแบบ
การใช้คำถามกับเด็ก โดยมีสื่อการสอนคือ PowerPoint เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิดและวิเคราะห์
และเกิดกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์และสามมารถนำไปประยุกค์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Work (งาน)
อาจารย์ได้สั่งงานในคาบเรียน
คือให้นักศึกษา ทำ Mind Map ในเรื่องที่อาจารย์ได้สอนมาในวันนี้ คือโดยจำแนกหัวข้อ
คือ ความรู้ที่ได้รับ การนำไปประยุกต์ใช้ ทักษะ และรูปแบบการสอน
Home Work (การบ้าน)
-
ลิงค์บล็อกของอาจารย์ (http://jeedbui.blogspot.com/)
-
หาบทความวิทยาศาสตร์ แล้วให้ออกมาพูดสัปดาห์หน้า
บทความ
สรุปบทความ
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ
วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว
ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น
การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะเน และการสื่อสาร
รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์
อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้
v ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
v ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
v ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ
การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต
เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
v เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
v ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ
เด็กที่เกิดความเบื่อ
v กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
v ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์
ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ
เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร
การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น