วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 6



Study Notes 6
September 25,2014
Group 101 (Thursday)
Time (08.30-12.20)






Knowede ความรู้
                กิจกรรมก่อนเข้าบทเรียนในวันนี้คือ การทำลูกยางกระดาษ
อุปกรณ์     (Equipment)
-กระดาษA4
-คลิปหนีบกระดาษ
-กรรไกร
ขั้นตอนการทำ
1.                ตัดกระดาษให้เท่าๆกัน ดังภาพ 





2.                พับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน 



3.                ตัดกระดาษทั้ง 2 โดยที่สัดส่วนไม่เท่ากัน ดังภาพ





4.                พับปลายกระดาษด้านที่ไม่ได้ตัดประมาณครึ่งเซนติเมตร



5.             

                      นำคลิปกระดาษมากัดไว้ทั้ง2 อัน







การทดลอง  (trials)

-ให้แถวที่ 1 2  โยนกระดาษที่ตัดคือตัดกระดาษครึ่งแผ่น นั้น และให้สังเกตการณ์หมุนว่าเป็นอย่างไร
-ให้แถวที่ 3 4  โยนกระดาษที่ตัด คือ 1 ใน 4 ส่วนของกระดาษออกมาโยนและให้สังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น และมีความแตกต่างกับ แถวที่ 1 2 อย่างไร

สรุปการทดลอง

 

  เมื่อพิจารณากระดาษทั้ง 2 แล้วก็จะมีการหมุนหรือการต้านแรงต้านอากาศที่แตกต่างกัน ในส่วนที่ตัดกระดาษครึ่งแผ่นจะมีการหมุนที่ดีกว่าและจะอยู่บนอากาศได้นานกว่า กระดาษส่วนที่ตัดแบบ 1 ใน 4 นั้นอย่างเห็นได้ชัด   แรงที่กระทำบนตัวมัน จะมีแรงโน้มถ่วงของโลก และแรงต้านอากาศ
และด้วยรูปร่างของปีกที่ไม่สมมาตร **ถูกออกแบบให้แรงต้านกลายเป็นแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง** ส่วนแรงโน้มถ่วงทำให้มันตกลงในแนวดิ่ง




การนำเสนอบทความ

             1 นางสาวพัชราภา  บุญเพิ่ม
บทความเรื่อง  แสงกับชีวิตประจำวัน (Exposure to everyday) Click
2 นางสาวรัชดาภรณ์  นันบุญมา 
 บทความเรื่อง  เงามหัศจรรย์ต่อสมอง (Shadow magic on the brain)Click
              3 นางสาวฐิติมา  บำรุงกิจ
               บทความเรื่อง  สอนลูกเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ( Teaching children about the environment)Click
              4 นางสาวเนตรยา  เนื่องน้อย
              บทความเรื่อง  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Science for Kids)Click
              5 นางสาวจิตราภรณ์ นาคแย้ม
              บทความเรื่อง  การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ( Experimental)Click
                

 เรื่องหน่วย  น้ำ



Teaching methods  วิธีการสอน
เปิดโอกาสในการใช้คำถาม สอนด้วนวิธีการนำเสนอ และการอภิปรายการใช้ขั้นสรุปด้วยการใช้แผนภาพความคิด ให้นักศึกษามีการลงมือกระทำและปฏิบัติจริง โดยใช้วิธีการนำเสนอ สอนสรุปองค์ความรู้โดยการบูรณาการทักษะวิชาต่างๆ

Benefits ประโยชน์ที่ได้รับ
                จากกิจกรรมในการประดิษฐ์ ถ้านำไปจัดให้เด็กในทางความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็ก ได้ตกแต่ง ได้โยน และได้ลงมือทำในการตัดกระดาษ เพราะมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อน และเด็กสามารถทำได้
assessment การประเมิน               
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าหน้าห้องอย่างเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกทุกครั้งที่มีเนื้อหาสำคัญ 
เพื่อน= เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมร่วมกันได้ดี
อาจารย์ = เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเนื้อหาและร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับนักศึกษา 




Study Notes 5


Study Notes 5
September 18,2014
Group 101 (Thursday)
Time (08.30-12.20)

Knowede

การทำสื่อทางวิทยาศาสตร์อาจารย์จะมีอุปกรณ์ให้กับันกศึกษาจากนั้นแบ่งกระดาษ 1 แผ่นแบ่งได้ 4 คน

Equipment
-กระดาษปกแข็ง paper
-ไม้เสียบลูกชิ้น Meatball skewers
-สี color

-กาว glue

-กรรไกร Scissors

 

Invention

  1. แบ่งกระดาษตามที่ต้องการ แล้วพับครึ่งของการดาษ
  2. วาดรูปที่สัมพันธ์กันในแต่ละด้าน เช่น carrot nad rabbit
  3. จากนั้นเอาเทปกาวติดไม้เสียบเพื่อไม่ให้มันหลุดออกจากกระดาษ แล้วเอาเทปกาวปิดทางด้างข้างทั้ง 2 ข้าง จากนั้นหมุดให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ แล้วดูที่กระดาษ เราจะเห็นภาพกระต่ายกินแครอท 






ต่อมาเป็นบทความที่เพื่อนนำเสนอแต่ละสัปดาห์
นางสาว แสงระวี ทรงไตรย์
บทความเรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ"สะเต็มศึกษา"ผ่านโครงงานปฐมวัย More CICK

นางสาวศุภาวรรณ ประกอบกิจ 
บทความเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร? More CICK

นางสาวศิราลักษณ์ คาวินวิทย์
บทความเรื่อง  บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ More CICK 



 Science songs

 








สรุปจาก VDO ความลับเรื่องแสง
  แสงสำคัญกับเรามาก แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนคลื่นน้ำทะเล แต่เป็นคลื่นที่มีความยาวสั้นมาก แสงเคลื่อนที่ได้เร็วมาก 300,000 กิโลเมตร/วินาที ถ้าเราวิ่งได้เร็วเหมือนแสง เราก็จะวิ่งรอบโลก ได้ 7 รอบ/วินาที แสงช่วยในการมองเห็นได้อย่างไร?

ตัวอย่างการทอลอง

Experiment samples



กล่องใหญ่ 1 ใบ นำมาเจาะรูข้างๆ กล่อง 1 รู แล้วนำของต่างๆมาใส่ในกล่อง เช่น ตุ๊กตา จากนั้นปิดฝากล่องแล้วมองเข้าไปในรูที่เจาะไว้เราก็จะมองไม่เห็นวัตถุในกล่อง จากนั้นค่อยๆเปิดฝากล่อง เราก้อจะเห็นว่าฝากล่องมีอะไรอยู่ในกล่อง จากนั้นเจาะรูอีก 1 ข้าง แล้วเอาไฟฉายส่องเข้าไปเราก็จะเห็นวัตถุอยู่ในกล่องอย่างชัดเจน เราจะเห็นวัตถุเมื่อมีแสงส่องมายังวัตถุ ฉะนั้นที่เรามองเห็นได้ เพราะ แสงส่องเข้ามายังวัตถุและก็สะท้อนจากวัตถุมาสู่ตาของเรา เราจึงจะมองเห็น
แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียว และไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง วัตถุที่อยู่บนโลกเมื่อมีแสงมากระทบจะมีอยู่ 3 ลักษณะ ต่างกัน 2 แบบแรก แสงจะทะทุผ่านไปได้ คือ วัตถุโปร่งแสง translucent objects  และ วัตถุโปร่งใส transparent objects อีก 1 แบบจะดูดกลืนแสงและจะสะท้อนแสงที่เหลือดูดสู่ดวงตาเรา คือ วัตถุทึบแสง  Opaque object
*วัตถุ 3 ลักษณะนี้ จะต่างกันตรงที่แสงจะผ่านไปได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่ที่วัตถุ
ประโยชน์ของแสง 
การเคลื่อนที่ ที่เป็นเส้นตรงเราก็จะนำมาใช้เป็นกล้องถ่ายรูปต่างๆ
 
 
 
 
 


 
วิธีการสอน   Teaching methods
    
       การสอบแบบการใช้คำถามปลายเปิด การถามตอบ เพื่อ check ความรู้ของนักศึกษาและเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ ในการหาคำตอบ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักศึกษา และทำให้บรรยากาศในการเรียนสนุกสนานไม่น่าเบื่อมากยิ่งขึ้น
 
ประโยชน์ที่ได้รับ Benefits
     
    นำความรู้เรื่องแสงนำมาจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับความต้องการ และพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เกิดวิธีการเรียนรู้  ตามคุณลักษณะอันพึงประสงตามธรรมชาติของเด็ก 
 
การประเมิน  Assessment
   
      ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าหน้าห้องอย่างเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกทุกครั้งที่มีเนื้อหาสำคัญ 
เพื่อน= เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และทำกิจกรรมร่วมกันได้ดี
อาจารย์ = เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเนื้อหาและร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับนักศึกษา