วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปความรู้จากการดูวีดีโอ เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปความรู้จากการดู VDO เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โรงเรียนสาธิตบางนา

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน พลังจิตคิดไม่ซื่อ

อุปกรณ์

  1. ช้อนเหล็ก
  2. ช้อนพลาสติก
  3. ลูกโป่ง
  4. ก๊อกน้ำ

กิจกรรมการทดลอง

    พี่เขาจะสนทนากับเด็กในเรื่องที่จะทดลอง จากนันก็ทำการทดลอง
ก็จะแจกช้อนเหล็กให้กับเด็กๆคนละ คัน ให้จับที่ปลายของช้อน แล้วเอามาไว้ที่ก๊อกน้ำแล้วเปิดน้ำแรงๆ ช้อนก็จะดูดติดกัน 2 อัน แล้วช้อนนั้นดูดกันได้อย่างไร?  จากนั้นก็ทำการทดลองกับช้อนพลาสติกก็ทำเหมือนการทดลองช้อนเหล็ก ถ้าเราทำแล้วช้อนมันจะติดเหมือนกันไหม?  และก็ทดลองจากลูกโป่ง คือเอาลูกโป่ง 2 ลูกมาไว้ที่ก๊อกน้ำแล้วจากนั้นเปิดน้ำ นั้นไงทำไมน้ำดูดลูกโป่ง เด็กก็พยายามหาคำตอบ

สรุปจากการทดลอง

    สิ่งที่ทำให้วัตถุทั้ง 2 ชิ้นนั้นมากระทบกัน เกิดจากแรงผลักของอากาศรอบนอก ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากน้ำที่ไหลผ่านตรงกลางของวัตถุทั้ง 2 ทำให้อากาศระหว่างวัตถุไหลเร็วตามไปด้วย ซึ่งทำให้ความดันอากาศน้อยลงเมื่ออากาศรอบนอกมีความดันมากกว่าจึงผลักให้วัตถุทั้ง 2 กระทบกัน จากนั้นเมื่อวัตถุทั้ง 2 ไปขวางไม่ให้น้ำไหลได้ก็จะทำให้ไม่มีแรงผลักดังกล่าว ทำให้วัตถุแยกออกจากกัน เมื่อน้ำไหลได้ตามปกติก็จะทำให้เกิดแรงผลักใหม่อีกครั้ง วนอยู่อย่างนี้จนกว่าจะปิดก๊อกน้ำ เมื่อเราเปิดน้ำให้ไหลแรงขึ้น ยิ่งทำให้อากาศไหลเร็วทำให้ความดันน้อยลง ส่งให้วัตถุทั้ง 2 ถูกผลักแรงขึ้นนั้นเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  คลิก

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 13

                                                        
                                                        Study Notes 13
November 13,2014
Group 101 (Thursday)
                                                     Time (08.30-12.20)



สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)

 การเรียนการสอนในวันนี้ เพื่อนได้นำเสนอบทวิจัยที่เหลือ ดังนี้
 

          




1.น.ส กมลพรรณ แสนจันทร์ ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  ของศรีนวล ศรีอ่ำ
 สรุปวิจัย   หลังจากทำกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาแล้วเด็กได้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้ทักษะในการสังเกตที่ดีขึ้น

2.นางสาว กมลกาญจน์ มินสาคร ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลอง หลังการฟังนิทาน ของ ศศิพรรณ สำแดงเดช
 สรุปวิจัย  เป็นกิจกรรมการทดลองหลังจากการฟังนิทาน โดยครูจะเป็นผู้เล่านิทานให้ฟังแล้วมาร่วมทดลองกัน ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องคือ ทักษะทางการสังเกต  การจำแนก  การสื่อสาร

3.นางสาวนฤมล บุญคงชู การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวน การทางวิทยาศาตร์ของเด็กปฐมวัย ของ ชยุดา พยุงวงษ์
 สรุปวิจัย กิจกรรมมีระยะเลวาในการทดลอง 8 สัปดาห์ จากนั้นนำเด็กมาทำการทดลอง มีการทดลอดซ้ำๆจนเด็กสามารถทำได้จนเกิดความเคยชิน ปัญญาที่พบ มีปัญหาทางเกมการศึกษา

4.น.ส.ปานัดดา อ่อนนวล
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย / ยุพาภรณ์ ชูสาย

 สรุปวิจัย เมื่อเด็กได้ลงมือกระทำ เด็กสามารถเกิดทักษะทางวิยาศาสตร์ จาการสังเกต การจำแนก มิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความคิดเห็นมากขึ้น

5.ธนารัตน์ วุฒิชาติ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้าง สรรค์แบบเน้นกระบวนการ/ชนกพร ธีระกุล
 สรุปวิจัย มีกิจกรรมสร้างเสริมแบบเป็นกระบวนการ 40 แผน กิจกรรมสร้างสรรค์แบบเป็นกระบวนการตามปกติ ทดลอง 8 สัปดาห์ เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การเปรียบเทียบ การทดลอง การจำแนก มิติสัมพันธ์ ประสบการณ์ตรง

6.นางสาวชนัฐถ์นันท์ แสวงชัย การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ของ เสกสรร มาตวังแสง
 สรุปวิจัย จากการทำกิจกรรมพบว่าเด็กมีวิจารณญาณมากกว่าก่อนการกัดกิจกรรม

7.นางสาว ไลลา คนรู้ การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดย ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของ สายทิพย์ ศรีแก้วทุม.
  สรุปวิจัย เป็นการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ แก่เด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมแล้วเด็กมีทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกัน 


eaching methods  วิธีการสอน

  • ให้เด็กสมารถแก้ปัญหา
  • การใช้คำถามปลายเปิด
  • สรุปรวบยอด
  • สอนให้เด็กเกิดทักษะในการคิดวิเคาระห์
  • ให้เด็กได้กล้าแสดง 
  • การนำเสนอ

 

Benefits ประโยชน์ที่ได้รับ

   การอ่านวิจัยเยอะๆ จะทำให้เรามีประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และสามารถคิดสิ่งประดิษฐิ์หรือการทดลองใหม่ๆที่เหมาะสมกับเด็กได้ และสามารถตอบคำถามที่เด็กสงสัยได้โดยไม่ติดขัด และนอกจากนั้นเรายังสามารถนำวัสดุที่เหลือใช้นำมาประดิษฐิ์ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย

assessment การประเมิน               

ตนเอง =  เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าหน้าห้องอย่างเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย และมีการตอบคำถามเพื่อน= เข้าเรียนตรงต่อเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจเรียนและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
อาจารย์ = เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเนื้อหาและร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับนักศึกษา และให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเป็นอย่างดี




วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 12



Study Notes 12
November 6,2014
Group 101 (Thursday)
Time (08.30-12.20)



สิ่งที่ได้จากการเรียน  (Knowlede)

                การเรียนการสอนในวันนี้นำเสนอการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีการนำเสนอตามวัน
ดังต่อไปนี้



วันจันทร์สัปดาห์ที่ 1  กลุ่มที่  1  เรื่องกล้วย (Banana)
-  มีการร้องเพลงเกี่ยวกับชนิดของกล้วย
-  ให้เด็กตอบว่าในเนื้อเพลงมีกล้วยอะไรบ้าง
-  มีรูปของกล้วยแล้วถามเด็กว่าคือกล้วยชนิดอะไร
-  มีคำเฉลยไว้ใต้ภาพ

 Suggestion  ข้อเสนอแนะ
     ควรทำสื่อให้น่าสนใจ จากการที่เราเอามือปิด เราก็ควรที่จะ ทำให้สื่อมีลูกเล่น เช่น ทำเป็นเชือกดึงออกมาเป็นชื่อของผลไม้ จะทำให้เด็กสนใจในสื่อการสอนมากขึ้น





วันอังคาร สัปดาห์ที่ 1 กลุ่มที่  2  เรื่องไก่ (Chicken)
-  มีการนำรูปไก่มาให้เด็กดู แล้วชี้พร้อมกับบอกเด็กถึงส่วนต่างๆ ว่าคืออะไร
-  มีจับคู่ภาพ
-  มีกราฟฟิก(graphics)วงกลม ความเหมือนและความต่างของไก่ 2 ชนิด



 Suggestion  ข้อเสนอแนะ
          จากการที่เราวาดภาพเป็นรูปไก่ และบอกลักษะของไก่นั้น เราสามารถ ทำเป็นจิกซอว์ต่อภาพ หรือ ค่อยๆเปิดภาพที่ละส่วน เพื่อที่จะให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และเด็กจะสามารถเข้าใจหรือทำได้มากกว่า





วันพุธ สัปดาห์ที่ 1 กลุ่มที่  3  เรื่องกบ  (Frog)
-  เปิด VDO วัฏจักรของกบให้เด็กดู
-  มีเนื้อหาครบถ้วน และครอบคลุม
-  ทบทวนเนื้อหาใน VDO
-  นำภาพวัฏจักรของกบมาให้เด็กดู



 ตัวอย่าง VDO



วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 1 หน่วยที่  4  เรื่องปลา (Fish)

-  นำเรื่องด้วยนิทานที่ให้คติเตือนใจ
-  เนื้อเรื่องนิทานเล่าถึงประโยชน์ของปลาและการกินปลาที่มีพิษ เช่น ปลาปักเป้า  ปลาทู  ปลานิล
- บอกประโยชน์และโทษของปลาให้กับเด็ก
-  นำเสนอตารางเปรียบเทียบประโยชน์และข้อจำกัดของปลา โดยให้เด็กตอบแล้วครูก็นำมาแปะ
 เพื่อทวนความจำของเด็ก

 ปลาที่มีพิษ

 Suggestion  ข้อเสนอแนะ
       ในส่วนของนิทาน ควรเป็นเรื่องราวที่น่าติดตามและในเนื้อหาน่าจะเป็นคำที่ไม่ดุร้าย หรือ หดหู่ใจ เพราะจะทำให้เด็กเกิดการปลูกฝัง และเขาก็จะนำไปปฎิบัติตามตัวละครในนิทาน



วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 1 กลุ่มที่  5  เรื่องข้าว  (Rice)
-  Cooking
-  ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำทาโกยากิจากข้าว โดยครูสาธิตการทำให้ดู อย่างเป็นขั้นตอน และบอกข้อควรระวัง "ระวังกะทะ เพราะ มันร้อน จะทำให้เด็กเกิดอันตรายได้"
-  ขออาสาสมัครให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
 - เด็กใช้ทักษะในการสังเกต



Suggestion  ข้อเสนอแนะ

     ในการสอนเด็กทำอาหารนั้นเป็นเรื่องที่เด็กสนใจมากเพราะเขาได้ลงมือปฏิบัติ  ในการเตรียมอุปกรณ์ เราควรที่จะเตรียมหรือทำบางบ้างเป็นบางส่วน  ถ้าอุปกรณ์ที่เด็กสามารถหามาได้ ก็ให้จัดเตรียมมา โดยที่ครูบอกล่วงหน้าว่าพรุ้งนี้เราจะทำไข่ข้าวกัน ใครมีอะไรก็ให้เอามานะคะ



วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 2 กลุ่มที่  6  เรื่องต้นไม้ (Tree)

-  ครูเริ่มกิจกรรมด้วยคำคล้องจอง
-  ถามเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ที่เด็กๆรู้จัก เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม
-  นำภาพต้นไม้มาให้เด็กดูแล้วให้เด็กตอบจากนั้นก็จัดหมวดหมู่ของต้นไม้





วันอังคารสัปดาห์ที่ 2 กลุ่มที่  7  เรื่องนม (Milk)
-  ครูนำเข้าสู่การเรียนโดยร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
-  ทำกิจกรรมการทดลองหยดน้ำยาล้างจานลงไปในนมและสีผสมอาหาร จากนั้นสังเกตการเปลี่ยนแปลง


 Suggestion  ข้อเสนอแนะ
      ทำกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เห็นภาพชัดเจน หรือให้เด็กได้มีส่วนร่วมเช่น  มีแก้วอยู่ 2 ใบ แต่ความสูงของแก้วไม่เท่ากัน แต่จะใส่นมไปใน แก้วทั้ง 2 ใบที่เท่ากัน ให้เด็กได้สังเกต จะดีมากกว่า



วันพุธสัปดาห์ที่ 2 กลุ่มที่  8  เรื่องน้ำ (Water)
-  ครูร้องเพลงอย่าทิ้งเพื่อเรียนความสนใจในกิจกรรม
-  ครูเล่นนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ ไม่ทำลายแม่น้ำ และใช้คำถามแบบปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดตาม
-  ครูจัดให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-  ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการสรุป
   เพลง อย่าทิ้ง 
อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง
ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก  ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ



วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 2 กลุ่มที่  9  เรื่องมะพร้าว (Coconut)
-  มีรูปภาพการปลูกต้นมะพร้าวให้เด็กดู
-  ครูนำแผ่นภาพขั้นตอนการปลูกต้นมะพร้าวให้เด็กดู
-  ให้เด็กจัดเรียงขั้นตอนการปลูกต้นมะพร้าว






กลุ่มที่  10  เรื่องผลไม้   (Fruit)

-  ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำผลไม้ผัดเนยให้เรียบร้อย
-  ครูสาธิตการทำผลไม้ผัดเนยให้เด็กดู
-  ขออาสาสมัครมามีส่วนร่วมในกิจกรรม มาตักเครื่องปรุงรสใส่ผลไม้ผัดเนย
-  เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม





 Adoption การนำไปใช้ 
ฝึก ทักษะในการเขียนแผน การเขียนแผนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นสิ่งที่ครูทุกต้องทำได้        และสามารถจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับได้ แต่จะต้องคำนึงถึงคุณลักษะของเด็กปฐมวัย และให้เหมาะกับพัฒนาการเพื่อส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กได้ เราสามรถนำกิจกรรมไปใช้ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง




วิธีการสอน  Teaching methods 
 
- ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะต่างๆในการทำกิจกรรม
-ใช้คำถามปรายเปิดกับเด็กเพื่อให้เด็กได้ คิดหาคำตอบ
- ใช้เทคนิคในการนำเสนอ

 การประเมิน assessment
ตนเอง- ตั้งใจฟังและร่วมทำกิจกรรม มีการตอบคำถามและช่วยเพื่อนนำเสนอแผนการสอนอย่างตั้งใจและฟัง การนำเสนอแผนการสอนของเพื่อนๆ
เพื่อน- มีการนำเสนอแผนของตนเองที่หลากหลาย แต่จะมีข้อผิดพลาดบ้าง อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ไปในส่วนของกิจกรรม
อาจารย์- มีการร่วมทำกิจกรรมกับนักศึกษา และได้ให้คำแนะนำว่าในการเขียนแผนการสอนที่ดีนั้นควรทำอย่างไร